เคล็ดลับน่ารู้
| 21 พฤษภาคม 2565
5 เทคนิคสําคัญ พิชิตเข้าแพทย์
5 Tricks to be the Faculty of Medicine Student
หลังจากน้องๆ รู้แล้วว่า อยากเป็นหมอ น้องๆต้องเริ่มวางแผนการเรียนอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ พี่เอ้ได้รวบรวมเทคนิคดีๆสําหรับการเตรียมตัวสอบแพทย์มาฝากครับ รับรองว่าถ้าน้องๆทําตามเทคนิคเหล่านี้ได้ น้องๆ มีโอกาสสอบติดแพทย์สูงแน่นอนครับ
1. อาชีพหมอเป็นยังไง
สิ่งแรกที่น้อง ๆ ควรรู้และควรทําถ้าน้องๆ อยากเป็นหมอนั้นคือ ต้องรู้จักตนเองก่อนมั่นใจว่าน้องๆอยากเป็นหมอจริงๆไหม โดยที่น้องอาจจะไปสอบถามจากรุ่นพี่ที่เรียนหมอ หรือน้องๆอาจจะลองไปสมัครเข้า“ค่ายหมอ” เพื่อให้น้องได้รู้ว่าหมอต้องทําอะไรบ้างครับ การเข้าค่ายหมอเป็นการจําลองการเรียนการสอนในคณะแพทย์มาย่อไว้ให้น้องๆ สามารถเข้าใจผ่านประสบการณ์ทํางานจริง ทั้งจากพี่ๆ ที่เรียนหมออยู่ หรือจากพี่ๆ ที่เป็นหมอจริงๆ น้องๆ จะได้ทํากิจกรรม เรียนรู้และลงมือทําผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทําให้น้องๆรู้จักกับอาชีพหมอมากขึ้น และสําคัญที่สุด คือ น้องๆ จะมีข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกคณะแพทยศาสตร์เป็นสายอาชีพที่ตนเองต้องการในอนาคต อีกทั้งยังสามารถเก็บการเข้าค่ายมาเป็นผลงาน / กิจกรรมทางวิชาการ เพื่อยื่นสมัครรอบ Portfolio ในระบบการคัดเลือก TCAS ได้อีกด้วยครับ
2. ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน
ถ้าน้องๆอยากเข้าคณะแพทย์น้องๆต้องศึกษาเกณฑ์ในการรับเข้าเรียนของแต่ละมหาวิทยาลัยครับ ว่ามีข้อกําหนดอะไรบ้าง ต้องยื่นคะแนนอะไรบ้างในการสอบเข้าบ้างครับ เช่น วิชาสามัญ , TGAT , TPAT1 กสพท. , A-LEVEL , BMAT เป็นต้น เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีเกณฑ์ในการยื่นที่แตกต่างกันครับ บางมหาวิทยาลัยน้องๆต้องยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษเพิ่มเติมด้วยครับ เช่น IELTS, TOEFL , CU-TEP เป็นต้น น้องๆ จะได้วางแผนได้ถูกว่าควรโฟกัสไปที่วิชาไหนก่อน ทําให้น้องๆสามารถโฟกัสไปที่เป้าหมายการสอบเข้าแพทย์ได้ตรงจุดมากขึ้นครับ
3. อย่าเก็บเนื้อหาอย่างเดียว ต้องฝึกโจทย์ให้มาก
ถ้าน้องๆรู้ตัวเร็วว่าอยากเป็นหมอ น้องๆควรเตรียมตัวตั้งแต่ขึ้น ม.ปลายเลยครับ รุ่นพี่หลายคนที่สอบติดและประสบความสําเร็จ มักเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ม.4 – ม.5 หากถามว่าตอนนี้น้องๆอยู่ม.5 หรือ ม.6 แล้ว จะเตรียมตัวทันมั้ย พี่เอ้บอกเลยว่าทันครับ ถ้าน้องๆรู้จักวางแผนว่าควรเริ่มวิชาไหนก่อน-หลัง ตัวอย่างเช่น น้องๆหลายคนมักจะเก็บวิชาฟิสิกส์กับคณิตศาสตร์ก่อนเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากมีพาร์ทคํานวณเยอะ ต้องจําและฝึกทักษะในการคํานวณ ตลอดจนการวิเคราะห์จากนั้นจึงเริ่มดูวิชาเคมีเพราะต้องอาศัยการอ่านและคํานวณควบคู่กัน ส่วนวิชาชีวะจะเน้นอ่านครับ อ่านเก็บ
ไปเรื่อยๆ ครับ ทั้งนี้น้องๆ อาจจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวน้องๆ เอง
หลังจากน้องๆ ก็เก็บเนื้อหาและประเด็นสําคัญในแต่ล่ะบทของทุกวิชาให้ครบถ้วนแล้ว พี่เอ้แนะนําให้น้องๆรีบฝึกโจทย์เลยครับ และให้น้องๆ นําข้อสอบเก่ามาฝึกทําก่อนครับ เพราะแนวข้อสอบเก่าจะมีความใกล้เคียงกับแนวข้อสอบปัจจุบันมากที่สุดซึ่งจะช่วยให้น้องๆทําคะแนนได้ตามเป้า และเพิ่มโอกาสในการสอบติดคณะแพทย์ครับ
หลังจากทําข้อสอบจนคล่องแล้ว ให้น้องๆฝึกจับเวลาจริง โดยจับเวลาน้อยกว่าที่ให้มาจริงสักเล็กน้อย เพื่อให้น้องๆปรับตัวกับความกดดันเรื่องเวลาที่ต้องเจอตอนสอบ อีกทั้งการจําลองสนามสอบจริงมีส่วนช่วยให้น้องๆรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าน้องๆยังมีจุดบกพร่องตรงไหน และมีจุดใดที่ควรเสริมทักษะเพิ่มเติมเพื่อให้การสอบออกมาได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ครับ
4. การจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
การแบ่งเวลาเป็นเรื่องสําคัญมากนะครับน้องๆ น้องๆอาจจะเคยฟังเทคนิคต่างๆ จากรุ่นพี่ที่สอบแพทย์ติดมาให้น้องๆเอาวิธีการมาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับตัวเอง แต่ที่สําคัญที่สุดก็คือ น้องๆต้องแบ่งเวลาให้สมดุลกันและทําอย่างมีวินัยด้วยครับ เช่น ใน 1 วัน มี 24 ชม. อาจจะแบ่งเป็นใช้เวลาเรียน 8 ชม. ทําการบ้าน 1 ชั่วโมงอ่านหนังสือ 2 ชม. ทําโจทย์1 ชั่วโมง พักผ่อน 4 ชม. ที่เหลือเป็นเวลานอน 8 ชม. เป็นต้น หรือ อาจจะสรุปสูตรและฝึกทําข้อสอบเพียงวันล่ะ 10-20 ข้อ แล้วค่อยปรับเพิ่มเป็น 50-100 ข้อ ถ้าทําได้จะทําให้น้องๆได้ทักษะและแนว
ข้อสอบเพิ่มมากขึ้นครับ
5. การประเมินตัวเองก่อนสอบ
ให้น้องๆลองคํานวณคะแนนตามจริง ว่าน้องๆได้คะแนนเท่าไหร่แล้วได้คะแนนตามเกณฑ์ที่กําหนดแล้วหรือยัง ถ้ายังก็ให้น้องๆ ดูว่ามีจุดผิดตรงไหน ให้น้องๆกลับไปทบทวนเนื้อหาซ้ําเพื่อลดข้อผิด แล้วลองทําข้อสอบซ้ําอีกครั้ง จนกว่าจะได้คะแนนตามเกณฑ์ที่ต้องการครับ ถ้าน้องๆทําได้จะทําให้น้องๆสอบได้คณะแพทย์ตามที่ต้องการครับ
การเป็นหมอเป็นความฝันของน้องๆหลายคน การเตรียมตัวดีจะทําให้น้องๆมีโอกาสาสอบติดคณะแพทย์มากขึ้น พี่เอ้จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสานฝันของน้องๆ ให้เป็นจริงครับ พี่เอ้และพี่ๆ ทีมงาน Physics Mindset ทุกคนเป็นกําลังให้น้องๆ ครับ สู้ๆ ครับ
1. อาชีพหมอเป็นยังไง
สิ่งแรกที่น้อง ๆ ควรรู้และควรทําถ้าน้องๆ อยากเป็นหมอนั้นคือ ต้องรู้จักตนเองก่อนมั่นใจว่าน้องๆอยากเป็นหมอจริงๆไหม โดยที่น้องอาจจะไปสอบถามจากรุ่นพี่ที่เรียนหมอ หรือน้องๆอาจจะลองไปสมัครเข้า“ค่ายหมอ” เพื่อให้น้องได้รู้ว่าหมอต้องทําอะไรบ้างครับ การเข้าค่ายหมอเป็นการจําลองการเรียนการสอนในคณะแพทย์มาย่อไว้ให้น้องๆ สามารถเข้าใจผ่านประสบการณ์ทํางานจริง ทั้งจากพี่ๆ ที่เรียนหมออยู่ หรือจากพี่ๆ ที่เป็นหมอจริงๆ น้องๆ จะได้ทํากิจกรรม เรียนรู้และลงมือทําผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทําให้น้องๆรู้จักกับอาชีพหมอมากขึ้น และสําคัญที่สุด คือ น้องๆ จะมีข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกคณะแพทยศาสตร์เป็นสายอาชีพที่ตนเองต้องการในอนาคต อีกทั้งยังสามารถเก็บการเข้าค่ายมาเป็นผลงาน / กิจกรรมทางวิชาการ เพื่อยื่นสมัครรอบ Portfolio ในระบบการคัดเลือก TCAS ได้อีกด้วยครับ
2. ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน
ถ้าน้องๆอยากเข้าคณะแพทย์น้องๆต้องศึกษาเกณฑ์ในการรับเข้าเรียนของแต่ละมหาวิทยาลัยครับ ว่ามีข้อกําหนดอะไรบ้าง ต้องยื่นคะแนนอะไรบ้างในการสอบเข้าบ้างครับ เช่น วิชาสามัญ , TGAT , TPAT1 กสพท. , A-LEVEL , BMAT เป็นต้น เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีเกณฑ์ในการยื่นที่แตกต่างกันครับ บางมหาวิทยาลัยน้องๆต้องยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษเพิ่มเติมด้วยครับ เช่น IELTS, TOEFL , CU-TEP เป็นต้น น้องๆ จะได้วางแผนได้ถูกว่าควรโฟกัสไปที่วิชาไหนก่อน ทําให้น้องๆสามารถโฟกัสไปที่เป้าหมายการสอบเข้าแพทย์ได้ตรงจุดมากขึ้นครับ
3. อย่าเก็บเนื้อหาอย่างเดียว ต้องฝึกโจทย์ให้มาก
ถ้าน้องๆรู้ตัวเร็วว่าอยากเป็นหมอ น้องๆควรเตรียมตัวตั้งแต่ขึ้น ม.ปลายเลยครับ รุ่นพี่หลายคนที่สอบติดและประสบความสําเร็จ มักเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ม.4 – ม.5 หากถามว่าตอนนี้น้องๆอยู่ม.5 หรือ ม.6 แล้ว จะเตรียมตัวทันมั้ย พี่เอ้บอกเลยว่าทันครับ ถ้าน้องๆรู้จักวางแผนว่าควรเริ่มวิชาไหนก่อน-หลัง ตัวอย่างเช่น น้องๆหลายคนมักจะเก็บวิชาฟิสิกส์กับคณิตศาสตร์ก่อนเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากมีพาร์ทคํานวณเยอะ ต้องจําและฝึกทักษะในการคํานวณ ตลอดจนการวิเคราะห์จากนั้นจึงเริ่มดูวิชาเคมีเพราะต้องอาศัยการอ่านและคํานวณควบคู่กัน ส่วนวิชาชีวะจะเน้นอ่านครับ อ่านเก็บ
ไปเรื่อยๆ ครับ ทั้งนี้น้องๆ อาจจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวน้องๆ เอง
หลังจากน้องๆ ก็เก็บเนื้อหาและประเด็นสําคัญในแต่ล่ะบทของทุกวิชาให้ครบถ้วนแล้ว พี่เอ้แนะนําให้น้องๆรีบฝึกโจทย์เลยครับ และให้น้องๆ นําข้อสอบเก่ามาฝึกทําก่อนครับ เพราะแนวข้อสอบเก่าจะมีความใกล้เคียงกับแนวข้อสอบปัจจุบันมากที่สุดซึ่งจะช่วยให้น้องๆทําคะแนนได้ตามเป้า และเพิ่มโอกาสในการสอบติดคณะแพทย์ครับ
หลังจากทําข้อสอบจนคล่องแล้ว ให้น้องๆฝึกจับเวลาจริง โดยจับเวลาน้อยกว่าที่ให้มาจริงสักเล็กน้อย เพื่อให้น้องๆปรับตัวกับความกดดันเรื่องเวลาที่ต้องเจอตอนสอบ อีกทั้งการจําลองสนามสอบจริงมีส่วนช่วยให้น้องๆรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าน้องๆยังมีจุดบกพร่องตรงไหน และมีจุดใดที่ควรเสริมทักษะเพิ่มเติมเพื่อให้การสอบออกมาได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ครับ
4. การจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
การแบ่งเวลาเป็นเรื่องสําคัญมากนะครับน้องๆ น้องๆอาจจะเคยฟังเทคนิคต่างๆ จากรุ่นพี่ที่สอบแพทย์ติดมาให้น้องๆเอาวิธีการมาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับตัวเอง แต่ที่สําคัญที่สุดก็คือ น้องๆต้องแบ่งเวลาให้สมดุลกันและทําอย่างมีวินัยด้วยครับ เช่น ใน 1 วัน มี 24 ชม. อาจจะแบ่งเป็นใช้เวลาเรียน 8 ชม. ทําการบ้าน 1 ชั่วโมงอ่านหนังสือ 2 ชม. ทําโจทย์1 ชั่วโมง พักผ่อน 4 ชม. ที่เหลือเป็นเวลานอน 8 ชม. เป็นต้น หรือ อาจจะสรุปสูตรและฝึกทําข้อสอบเพียงวันล่ะ 10-20 ข้อ แล้วค่อยปรับเพิ่มเป็น 50-100 ข้อ ถ้าทําได้จะทําให้น้องๆได้ทักษะและแนว
ข้อสอบเพิ่มมากขึ้นครับ
5. การประเมินตัวเองก่อนสอบ
ให้น้องๆลองคํานวณคะแนนตามจริง ว่าน้องๆได้คะแนนเท่าไหร่แล้วได้คะแนนตามเกณฑ์ที่กําหนดแล้วหรือยัง ถ้ายังก็ให้น้องๆ ดูว่ามีจุดผิดตรงไหน ให้น้องๆกลับไปทบทวนเนื้อหาซ้ําเพื่อลดข้อผิด แล้วลองทําข้อสอบซ้ําอีกครั้ง จนกว่าจะได้คะแนนตามเกณฑ์ที่ต้องการครับ ถ้าน้องๆทําได้จะทําให้น้องๆสอบได้คณะแพทย์ตามที่ต้องการครับ
การเป็นหมอเป็นความฝันของน้องๆหลายคน การเตรียมตัวดีจะทําให้น้องๆมีโอกาสาสอบติดคณะแพทย์มากขึ้น พี่เอ้จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสานฝันของน้องๆ ให้เป็นจริงครับ พี่เอ้และพี่ๆ ทีมงาน Physics Mindset ทุกคนเป็นกําลังให้น้องๆ ครับ สู้ๆ ครับ